วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554

ตำนานไ่ก่ชนพระนเรศวร




            " ไก่ชนนเรศวร "  เป็นไก่ชนตามประวัติศาสตร์ ซึ่งปรากฏอยู่ในพงศาวดารของไทย ดังจะเห็นได้จาก หนังสือพระมหากษัตริย์ไทย ของประกอบ โชประการ ตอนหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า
วันหนึ่ง ได้มีการตีไก่ขึ้น ระหว่างสมเด็จพระนเรศวร ฯ  กับไก่ของมังชัยสิงห์ราชนัดดา (ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระมหาอุปราชา)  ไก่สมเด็จพระนเรศวร ฯ ตีชนะมังชัยสิงห์  มังชัยสิงห์จึงขัดเคือง ตรัสประชดประชันหยามหยันออกมาอย่างผู้ที่ถือดีว่ามีอำนาจเหนือกว่า “ ไก่เชลยตัวนี้ เก่งจริงหนอ”
ถ้า ไม่ใช่คนเหี้ยมหาญแกว่นกล้า ไม่ใช่คนสู้คนทุกสถานการณ์ก็คงจะได้แต่รับฟังหรือเจรจาตอบโต้ไปอย่างเจียม เนื้อเจียมตัว แต่สมเด็จพระนเรศวร ฯ  ไม่ใช่คนเช่นนั้น ทรงเป็นวีรขัติชาติที่ทรงสู้คนทุกสถานการณ์ จึงตรัสโต้ตอบเป็นเชิงท้าอยู่ในทีว่า “ ไก่เชลยตัวนี้ อย่าว่าแต่จะตีกันอย่างกีฬาในวังเหมือนอย่างวันนี้เลย ตีพนันบ้านเมืองกันก็ยังได้”
นับ ว่าเมืองไทยเรามีไก่ชนที่เก่งมาก จึงทำให้สมเด็จพระนเรศวร ฯ  เชื่อพระทัยอย่างแน่นอนว่าเมื่อชน ต้องชนะไก่พม่า จึงกล้าท้าทายเดิมพันบ้านเมืองกัน

            การตีไก่เป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวางในไทย  สมเด็จ พระนเรศวรมหาราช ทรงพระราชสมภพ ณ วังจันทร์ เมืองพิษณุโลก พระองค์ทรงโปรดปรานการตีไก่มาแต่ทรงเยาว์วัย ทรงใฝ่หาความรู้และเสาะหาไก่เก่งมาเลี้ยงไว้ ครั้งเสด็จไปประทับที่พม่าก็ทรงนำไก่ชนไปด้วย ซึ่งเชื่อกันว่าไก่ที่สมเด็จพระนเรศวรฯ ทรงนำไปชนกับพม่านั้น นำไปจาก “บ้านกร่าง”
“บ้านกร่าง”  อำเภอเมืองพิษณุโลก  แดน ไก่ชนนเรศวร เป็นหมู่บ้านเก่าแก่ สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษไทยโบราณ มีการเลี้ยงไก่มาก เมื่อมีงานเทศกาลต่าง ๆ ก็จะนัดชนไก่กัน ณ บ่อนชนไก่ประจำหมู่บ้าน ไก่บ้านกร่าง เป็นไก่เก่งชนชนะชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่ต้องการของคนต่างถิ่น ไก่ที่เลี้ยงเป็น “ไก่อูตัวใหญ่ สีเหลือง หางขาว”  เป็นไก่ชนที่มีความเฉลียวฉลาดในการต่อสู้ จนได้รับสมญานามว่า “เหลืองหางขาว ไก่เจ้าเลี้ยง”
ตาม ตำราได้กล่าวว่า ไก่เหลืองหางขาว เป็นไก่มีสกุล มีประวัติเด่นมาก มีลำหักลำโค่นดี แทงแม่นยำ อาจแทงเข้าตาหรือรูหูพอดี รูปร่างยาว 2 ท่อน สูงระหงดี สีสร้อยเป็นสีเหลือง ปากสีเหลือง เนื้อชมพูอมแดง แข้งเหลืองอมขาว เล็บและเดือยสีเหลืองอมขาว และได้มีผู้รู้ บรรยายลักษณะพิเศษไว้ว่า
“ หน้าหงอนบาง  กลางหงอนสูง
สร้อยระย้า หน้านกยูง ” 
ทางภาคใต้ ได้บรรยายลักษณะของไก่เหลืองหางขาวชั้นเยี่ยม ไว้ว่า
“ อกชัน            หวั้นชิด
หงอนบิด           ปากร่อง
พัดเจ็ด              ปีกสิบเอ็ด
เกล็ดยี่สิบสอง    ถือเป็นไก่ชั้นเยี่ยม ”
            การ ค้นหาไก่เหลืองหางขาว ให้มีลักษณะครบทุกอย่าง และมีลักษณะพิเศษอีกนั้น คงจะมีเพียงตัวเดียว คือ ไก่ชนของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในปัจจุบันการผสมพันธุ์ไก่ชนได้แพร่หลาย และกระจายไปทั่วประเทศ เพราะมีการผสมข้ามเหล่าข้ามพันธุ์ และข้ามสี จนมีไก่ชนหลากสีขึ้น สุดแท้แต่ไก่ตัวไหนจะเก่ง จึงจำเป็นต้องมีการจัดประกวดขึ้น
สำนัก งานปศุสัตว์จังหวัดพิษณุโลก ได้ศึกษาค้นคว้าและทำการส่งเสริมเผยแพร่ โดยได้จัดให้มีการประกวดครั้งแรกขึ้น เมื่อ 29 กรกฏาคม พ.ศ. 2533 และต่อมาได้มีการจัดตั้งชมรมอนุรักษ์และพัฒนาพันธุ์ไก่ชนนเรศวรขึ้นในทั่ว ทุกอำเภอ เพื่ออนุรักษ์และพัฒนาสายพันธุ์ให้คงอยู่เป็นสมบัติคู่ชาติไทยต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น