ยาถ่ายไก่
ยาถ่ายโบราณคนนิยมใช้กันมากมีส่วนผสมดังนี้
- เกลือประมาณ 1 ช้อนคาว
- มะขามเปียก 1 หยิบมือ
- ไพลประมาณ 5 แว่น
- บอระเพ็ดยาวประมาณ 2 นิ้ว หั่นเป็นแว่นบาง ๆ
- น้ำตาลปีบประมาณ 1 ช้อนคาว
- ใบจากเผาไฟเอาถ่าน (ใช้ใบจากประมาณ 1 กำวงแหวน)
ใช้ครกตำให้ละเอียดเข้า ด้วยกัน เวลาใช้ยาควรให้ไก่กินเวลาเช้าท้องว่าง ปั้นเป็นลูกกลอนขนาดหัวแม่มือ 2 เม็ด ให้น้ำกินมาก ๆ หน่อย แล้วครอบผึ่งแดดไว้รอจนกว่ายาจะออกฤทธิ์ ถ่ายเป็นน้ำ 3 ครั้ง ก็พอแล้วเอาข้าวให้กินเพื่อให้ยาหยุดเดิน
น้ำสำหรับอาบไก่
ปกติไก่เลี้ยงจะต้องอาบน้ำยาจนกว่าไก่จะชน เครื่องยาที่ใส่น้ำต้มมีดังนี้
- ไพลประมาณ 5 แว่น
- ใบส้มป่อยประมาณ 1 กำมือ
- ใบตะไคร้ ต้นตะไคร้ 3 ต้น
- ใบมะกรูด 5 ใบ
- ใบมะนาว 5 ใบ
สมุนไพรเกี่ยวกับโรคผิวหนัง บาดแผล เห็บหมัด ไรไก่
สมุนไพรเดี่ยว
- รากหนอนตายอยาก แผลติดเชื้อ มีหนอง มีหนอน ตำให้แหลก พอก หรือคั้นน้ำ ทาแผล
- ตะเคียน ต้มเคี่ยวใช้ทาแผล หรือตำให้แหลกแช่น้ำ ใช้แช่เท้าเปื่อย
- ประดู่ ต้มเคี่ยวใช้ทาแผล
- หนามคนทา ใช้ฝนทาแผล หนอง
- ลูกหนามแท่ง ต้มใช้น้ำชะล้างแผล หรือชำระล้าง
- ลูกมะคำดีควาย ต้ม ใช้น้ำชำระล้าง
- กำมะถันแดง โรยบนเตาไฟใช้รมบาดแผล
- หนามกำจาย ฝนทาแผล ติดเชื้อ
- เปลือกสีเสียด ต้มเคี่ยว ใช้ล้างแผล แช่เท้าเปื่อย
- ว่านมหากาฬ ตำพอกแผล
- ฟ้าทะลายโจร ต้มเคี่ยวใช้ชะล้าง
- ยาฉุน แช่น้ำ ไล่เห็บ เหา หมัด ไรไก่
- แมงลักคา ขยี้สดๆวางไว้ในเล้าไก่ไล่ไรไก่
น้ำยาอาบไก่ชน รักษาผิว และทำให้ไก่แข็งแรง
น้ำยาอาบไก่ชน รักษาผิว และทำให้ไก่แข็งแรง
- ไม้กระดูกไก่ทั้ง ๒
- เปลือกสมอทะเล
- ยอดส้มป่อย
- ขมิ้น
- ใบหนาด
น้ำยาอาบไก่ชน รักษาผิว และทำให้ไก่แข็งแรง
- ไพล
- ขมิ้น ( ขมิ้นอ้อย หรือขมิ้นก็ได้ )
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น