วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554

การฟักลูกไก่

                                

 


ธรรมชาติของไก่พื้นบ้าน เมื่อฟักลูกไก่ออกแล้วยังต้องทำหน้าที่เลี้ยงดู โดยหาอาหารตาม ธรรมชาติและป้องกันภยันตรายทั้งหลายจนลูกไก่อายุประมาณระหว่าง 6-10 สัปดาห์ แม่ไก่จึงจะปล่อยให้ลูกหากินตามอิสระ การที่แม่ไก่ต้องคอยเลี้ยงดูลูกไก่นั้น จะมีผลเสียเกิดขึ้นได้ดังนี้ ในระหว่างการเลี้ยงลูกนั้น แม่ไก่จะหยุดการให้ไข่โดยสิ้นเชิง ทำให้การออกไข่ของชุดต่อไปล่าช้า อัตราการตายของลูกไก่สูงขึ้น เนื่องจากสภาพอากาศแปรปรวนจากร้อนจัดแล้วฝนตก ทำให้ลูกไก่ได้รับสภาวะเครียด ถ้าปรับตัวไม่ทันมักจะตาย ในแหล่งที่มีอาหารตามธรรมชาติไม่เพียงพอ ย่อมทำให้ลูกไก่ได้รับอาหารไม่ครบถ้วน ทำให้อ่อนแอ มีภูมิต้านทานต่อโรคต่ำลง เป็นผลทำให้ลูกไก่ตายด้วยโรคแทรกซ้อนได้ง่าย จำนวนลูกไก่ที่ฟักได้ต่อปีต่อแม่ไก่ลดลง ผลเสียดังกล่าวข้างต้น โดยปกติเกษตรกรมักมองข้ามและไม่ให้ความสนใจเท่าที่ควร เป็นเพราะราคาไม่สูงเหมือนกับสัตว์ใหญ่ชนิดอื่น ๆ ที่จำหน่ายได้ในราคาสูง ๆ อย่างไรก็ตามถ้าเกษตรกรจะยอมลงทุนบ้างและให้ความเอาใจใส่เพิ่มขึ้นอีกเล้กน้อยก็จะสามารถลดความสูญเสียดังกล่าวได้มากพอควร

โรคไข้หวัดนก

                       โรคไข้หวัดนก (Avian Influenza)

 

โรคไข้หวัดนก (Avian Influenza) เป็น โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Avian Influenza virus type A ในตระกูล Orthomyxoviridae ซึ่งเป็น RNA ไวรัสชนิดมีเปลือกหุ้ม โดยมี surface antigens ที่สำคัญ ได้แก่ haemagglutinin (H) มี ๑๕ ชนิด และ neuraminidase (N) มี ๙ ชนิด เชื้อไวรัส Influenza แบ่งเป็น ๓ type ได้แก่
Type A แบ่งย่อยเป็น ๑๕ subtype ตามความแตกต่างของ H และ N antigen พบได้ในคนและสัตว์ต่างๆ เช่น สุกร ม้า และสัตว์ปีกทุกชนิด
Type B ไม่มี subtype พบเฉพาะในคน
Type C ไม่มี subtype พบเฉพาะในคนและสุกร

อาการ

โรคไข้หวัดนก อาการที่แสดงนั้นมีความผันแปรตั้งแต่ระดับที่ไม่รุนแรง ไปจนถึงขั้นเสียชีวิต ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อไวรัส และสัตว์ที่ได้รับเชื้อ สัตว์อาจจะไม่แสดงอาการป่วย แต่จะมีระดับภูมิคุ้มกันสูงขึ้น (Seroconverion) ภายใน 10-14 วัน จึงสามารถวินิจฉัยว่าเป็นโรค สัตว์อาจจะแสดงอาการดังนี้
กินอาหารลดลง ปริมาณไข่ลดในไก่ไข่ นอกจากนี้อาจจะมีอาการ ไอ จาม ขนร่วง มีไข้ หน้าบวม ซึม ท้องเสีย ในรายที่มีอาการติดเชื้อรุนแรงอาจตายกระทันหัน ซึ่งมีอัตราตายสูง ๑๐๐%
ไวรัสชนิดนี้จะไม่ทำให้เป็ดป่วย แต่อาจทำให้สัตว์ปีกชนิดอื่นๆ ป่วยได้ เช่น ไก่งวง

แหล่งของไวรัส

สัตว์ปีกทุกชนิดมีความไวต่อเชื้อไวรัสไข้หวัดนก สามารถที่จะแยกเชื้อได้จากนกน้ำ รวมทั้ง นกชายทะเล นกนางนวล ห่าน และนกป่า เป็ดป่าสามารถที่จะนำเชื้อไวรัสชนิดนี้ โดยที่จะไม่แสดงอาการป่วย ซึ่งถือได้ว่าเป็นแหล่งรังโรคที่สำคัญในสัตว์ปีก
ความเสี่ยงของการระบาดโรคไข้หวัดนกจากนกน้ำ โรคไข้หวัดนกมีการระบาดในนกป่าและเป็ด นกน้ำเป็นแหล่งของเชื้อไวรัสไข้หวัดนกที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง นอกจากนี้ไก่งวงยังเป็นแหล่งกักโรคที่ก่อให้เกิดปัญหาโรคไข้หวัดนกได้ ความเสี่ยงของไก่ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันที่มีโอกาสสัมผัสกับนกน้ำเป็นความเสี่ยงสูง แต่ยังไม่ทราบว่าปัจจัยใดที่ส่งผลให้การระบาดไม่แน่นอนในแต่ละพื้นที่นั้น

วิธีติดต่อของโรค

  1. การติดต่อของโรคจากการสัมผัสกับอุจจาระ เป็นวิธีติดต่อที่สำคัญระหว่างนกด้วยกัน นกป่าจะ เป็นตัวนำเชื้อไวรัสไข้หวัดนกไปยังนกในโรงเรือนที่เปิดได้ โดยผ่านทางการปนเปื้อนของอุจจาระ
  2. การติดเชื้อโดยทางการสัมผัสกับสิ่งปนเปื้อนเชื้อโรค (Mechanical Transmission) มูลของนกเป็นแหล่งของเชื้อไวรัสที่สำคัญ การขับเชื้อไวรัสทางมูลเป็นเวลา ๗๑๔ วัน หลังการติดเชื้อ แต่ไม่พบเชื้อไวรัสในสิ่งปูรองได้ในระยะเวลานานถึง ๔ สัปดาห์หลังการติดเชื้อ ไวรัสสามารถจะอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานถึง ๑๐๕ วัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ซึ่งมีอุณหภูมิต่ำและความชื้นสูง ดังนั้น วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ คน และสัตว์ เช่น นกป่า หนู แมลง นกกระจอก จึงเป็นปัจจัยในการกระจายของโรคได้
  3. การติดเชื้อจากการหายใจเอาสิ่งคัดหลั่งของตัวป่วย ก็เป็นได้
  4. ไวรัสไข้หวัดนกสามารถพบในเปลือกไข่ชั้นในและชั้นนอก อย่างไรก็ตาม การติดต่อจากแม่ไก่ผ่านมายังลูกไก่ทางไข่ (Vertical transmission) ยังไม่มีการรายงาน ส่วนการติดโรคผ่านไข่ไปยังฟาร์มอื่นนั้นมักเกิดจากการปนเปื้อนเชื้อที่เปลือกไข่ หรือถาดไข่ และจัดเป็นการติดต่อที่สำคัญวิธีหนึ่ง

วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554

เทคนิคการดูไก่เก่ง

  เทคนิคดูไก่เก่ง

  

เรื่องเกี่ยวกับไก่ชน ว่าด้วย ศาสตร์และศิลปะ เกล็ดพิฆาต โดย อาจารย์พน นิลผึ้ง

รูปลักษณ์แข้ง คือ รูปร่างลักษณะของแข้งไก่นั้นเอง ไก่แข้งดี โบราณว่าจะเป็นไก่ตีเจ็บ

จากการสังเกตดูในปัจจุบันเห็นว่าเป็นความจริงเหมือนโบราณว่าไว้แข้งไก่ที่ดีจะมีลักษณะ

กลมเรียวและเล็ก จึงเทียบเป็นคำพูดง่ายๆ ไว้ว่า นกแข้งใหญ่ ไก่แข้งเล็ก หมายความว่า

นกเขาที่ดีรูปลักษณะแข้งใหญ่ๆ จะเป็นนกขยันบิน บินเก่ง ขันมีคารมและขันนานในไก่ชน

ไก่แข้งเล็กๆ กลมๆ แบบไม้เรียว ไม้ตะพด จะเป็นไก่ตีเจ็บ

                                                                                  
   ส่วนไก่ที่แข้งใหญ่ๆแบนๆ จะเป็นไก่ตีไม่เจ็บตีไม่แม่น จึงไม่นิยมเอามาเลี้ยงตี คนโบราณได้เปรียบเทียบ

และเรียกชื่อลักษณะของแข้งขาไก่ไว้ดังนี้


๑.แข้งลำเทียน จะมีรูปร่างลักษณะคล้ายเล่มเทียนบูชาพระ ส่วนล่างบริเวณข้อเท้าจะโตก

ว่าส่วนบนบริเวณใต้ข้อขา ผิวแข้งจะกลมกลึง เกล็ดจะราบเรียบไม่มีเหลี่ยม ไม่มีคม

เป็นแข้งที่สวยงามที่สุด เป็นแข้งที่ตี ไก่เจ็บ


๒.แข้งลำหวาย จะมีลักษณะแข้งคล้ายกับลำหวาย ท่อนบนใหญ่ท่อนล่างเล็กเหมือนกับ

แข้งลำเทียนจะต่างกันตรงที่ผิวแข้งจะมีเหลี่ยมเล็กน้อยตามแนวของเกล็ดผิวเกล็ดจะเผยอ

ขึ้นเล็กน้อย เป็นแข้งที่สวยงามพอกับแข้งลำเทียน และตีไก่เจ็บเช่นกัน


๓.แข้งไม้ดัด หรือแข้งคัด จะมีลักษณะคล้ายกับไม้ดัด ไม้คมแฝก ด้านข้างแข้งจะออกเป็น

เหลี่ยมเป็นมุม แข้งจะโตเสมอต้นเสมอปลายทรงเหลี่ยม ผิวแข้งจะขรุขระไม่ราบเรียบ เกล็ด

ซ้อนเผยอ ขึ้น เป็นไก่แข้ง สวยรองจาก แข้งลำหวาย เป็นแข้งที่ตีไก่เจ็บเช่นกัน


๔.แข้งกระบองเพชร หรือกระบองยักษ์ รูปลักษณ์เป็นแข้งกลม ข้อขาเล็กข้อเท้าใหญ่ เกล็ด

ราบเรียบ เป็นกำไลทั้งแข้ง ถ้ากำไลตรงเรียกปัดตลอดหรือนกเอี้ยงถ้ากำไลเฉียงเรียกกระบอง

ยักษ์ เป็นไก่แข้งงามต่อจากแข้งไม้ดัดหรือแข้งคัด

๕.แข้งบัวไหว หรือแข้งขุนนาง มีรูปลักษณะเรียวยาวแบบนิ้วคน เกล็ดผิวแข้งจะเรียบ แข้งดีกล้ามเนื้อจับดูจะ

นิ่มนุ่มเหมือน นิ้วคน เดือยโยกคลอนอ่อนไหว เป็นแข้งสวยรองจากแข้งกระบองเพชร ตีไก่เจ็บปวด

เช่นกัน (ไม่มีรูปภาพประกอบ)

คัดลอกจากวารสาร สนามไก่ชน รายปักษ์ ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑๙ ประจำวันศุกร์ที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๔๔

รูปลักษณ์เกล็ดแข้งด้านหน้า

๑.หน้าแข้ง คือ ส่วนของแข้งด้านหน้า ตั้งแต่ข้อขาลงมาถึงปลายนิ้วทั้งสาม คือ นิ้วกลาง นาง และชี้ ของไก่

หน้าแข้งจะประกอบด้วยเกล็ดต่างๆ เรียงเป็นแถว อาจจะเป็นหนึ่งแถว สองแถว สามแถว อาจจะตรง กันตลอด

หรือไม่ก็ได้ ถ้าเรียงตรงกันตลอดเป็นระเบียบถือว่าดี แบ่งออกได้ ดังนี้ คือ


๑.๑. เกล็ดด้านหน้าเรียงกันเป็นระเบียบหนึ่งแถว ถ้าเรียงกันตรงลงมาถึงข้อเท้าเรียกว่า

กำไลปัดตลอด ถ้าเรียงกันเฉียงลงมาถึงข้อเท้าเรียกพันลำ ถือว่าดี เกล็ดกำไลพันลำ

ภาพจากนิตยสาร สัตว์ปีก เพื่อนไก่ชน ฉบับที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๓

ประเภทเกล็ดกำไล คือ เกล็ดคาดเต็มแข้งไก่ด้านหน้าจากด้านซ้าย ไปข้างขวา เป็นเกล็ดเดียวไม่มีรอยแตก

หรือรอยขาดเกล็ดกำไลที่สำคัญและมีอิทธิฤทธิ์พิษสง มีอยู่ ๗ ชนิด คือ

๑.๑.๑.กำไลปัดตลอด คือ เกล็ดกำไลคาดตรงตลอดจากข้อขาถึงข้อเท้าแบบเกล็ดนกเอี้ยงเป็นเกล็ดกำไลที่สวย

งามมาก มีอิทธิฤทธิ์พิษสงตีเจ็บปวดลึกแบบโดนฟาดด้วยไม้กระบอง เอาชนะคู่ต่อสู้ได้ง่าย ไก่ กำไลปัด ตลอดมัก

จะตีลำตัวได้เจ็บ ถ้าขึ้นหัวได้จะตีให้แพ้เลย


๑.๑.๓.กำไลหนุมานนั่งแท่น คือ เกล็ดกำไลคาดตรงหรือเฉียงจากข้อขาบนปกลงมา๓ เกล็ด

ติดๆกันถ้ามี สองข้างยิ่งดี เรียกว่าหนุมานนั่งแท่น หรือหนุมานครองเมืองเป็นเกล็ดกำไลที่

สวยงามอีกเกล็ดหนึ่ง มี อิทธิฤทธิ์พิษสงแพ้ยาก เชื่อว่าแม้ถูกตีจนหักจนชักก็สามารถฟื้นคืน

กลับมาเอาชนะได้ เป็นไก่อึดทนแข็งแรงเก็บอาการได้ดี

ภาพจากนิตยสารสนามไก่ชน ฉบับปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑๒ ประจำวันศุกร์ที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๕


๑.๑.๔.กำไลขนปกหรือผมตก คือ เกล็ดกำไลคาดตรง ตรงข้อขากับขนมีขนข้อขา

ย้อยมาปิด เรียกขนปกหรือผมตก มีอิทธิฤทธิ์คล้ายแต่ด้อยกว่ากำไลหนุมานนั่งแท่น

ภาพจากนิตยสารสนามไก่ชน ฉบับปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑๒ ประจำวันศุกร์ที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๕

ได้ตกแต่งภาพเพื่อให้เห็นส่วนที่เป็นกำไลขนปกชัดเจนขึ้น

๑.๑.๕.กำไลคาดเดือย คือ เกล็ดกำไลคาดตรงหรือเฉียงอยู่ตรงหน้า ถ้ามีทั้งสองข้างยิ่งดี เป็นกำไลสวยงามเช่นกัน

มีอิทธิฤทธิ์พิษสงมาก ไก่กำไลหน้าเดือยสองข้างจะแทงแม่น ตีเดือยจัด จะได้ชัยชนะเหนือคู่ต่อสู้อย่างรวดเร็ว

๑.๑.๖.กำไลเหนือเดือยและกำไลใต้เดือย คือ เกล็ดกำไลคาดเหนือเดือยขึ้นไป หรือต่ำกว่าเดือยลงมา ถ้ามีเหมือน

กันทั้งสองข้างตรงกันจะดียิ่ง มีอิทธิฤทธิพิษสงคล้ายกำไลขนปกแต่ด้อยกว่า

๑.๑.๗.กำไลฟ้าผ่าหรือกำไลเพชร คือ เกล็ดกำไลที่คาดเรียงแบบกำไลพันลำและมีรอยแตกผ่าลงมาประมาณครึ่ง

เกล็ดแต่ไม่ถึงกำไลขาด เรียกว่ากำไลฟ้าผ่าหรือกำไลเพชร เป็นไก่ตีเจ็บ ตีแตก ตีหัก ตีชัก

(***จากนิตยสาร กีฬาไก่ชน ฉบับปีที่ ๑ ฉบับที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๓ คอลัมน์ลักษณะไก่เก่ง)




๑.๒. เกล็ดด้านหน้าเรียงกันเป็นระเบียบสองแถว ถ้าเรียงกันสองข้างตรงตลอด ถึงข้อเท้าเรียก

ร่องน้ำ ปัดตลอด ถ้าเรียงสลับขบสับกันสองแถว ตลอดถึงข้อเท้า เรียกจระเข้ขบฟันถือว่าดี

เกล็ดสองแถว ภาพจากนิตยสาร สนามไก่ชน ฉบับปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑๒ ประจำวันศุกร์ ๑๙ มกราคม

๒๕๔๔


๑.๓. เกล็ดด้านหน้าเรียงกันเป็นระเบียบสามแถวตลอด เกล็ดแถวกลางเรียงตรงมาต่อกับ

เกล็ดนิ้วกลางเกล็ดแถวริมในเรียงตรงมาต่อกับเกล็ดนิ้วชี้(นิ้วใน) เกล็ดแถวริมนอกเรียง

ตรงมาต่อกับเกล็ดนิ้วนาง(นิ้วนอก) ถ้าเรียงต่อกันแบบปูแผ่นกระเบื้องพื้น เรียกปัดตลอด

ถ้าเรียงต่อกันแบบมุงหลังคา เกล็ดซ้อนกัน บนทับล่าง เรียกพญาครุฑ ถือว่าเป็นเกล็ดดี

เกล็ดสามแถว ภาพจากนิตยสาร สนามไก่ชน ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑๙ ประจำวันศุกร์ที่

๒๗ เมษายน ๒๕๔๔

ระเบียบการพนันไก่ชน




..หมวด 3 ..
..การอนุญาตให้จัดให้มีการเล่นการพนัน..
..ข้อ 12 ผู้ขอให้มีการเล่นการพนันชนไก่หรือกัดปลาจะต้องเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สถานที่เล่นการพนันชนไก่หรือกัดปลา
โดยจะต้องยื่นคำร้องขออนุญาตตามแบบ พ.น.1
พร้อมเอกสารหลักฐานประกอบด้วยสำเนาหนังสืออนุญาตให้ใช้สถานที่เล่นการพนันดังกล่าว
 สำเนา บัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขออนุญาต ต่อเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตเพื่อเสนอให้ผู้มีอำนาจอนุมัตพิจารณาเดือนละ ครั้ง เมื่อได้รับอนุมัติแล้วเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตจึงจะออกใบอนุญาตได้..
..ข้อ 13 กำหนดให้ผู้มีอำนาจสั่งอนุมัติใช้ดุลยพินิจพิจารณาอนุญาตให้บ่อนหนึ่งจัดให้ มีการเล่นการพนันชนไก่หรือกัดปลา แล้วแต่กรณี ได้เฉพาะวันเสาร์และวันอาทิตย์ของทุกสัปดาห์
ที่ไม่ตรงกับวันเฉลิมพระ ชนมพรรษาหรือวันสำคัญทางศาสนาเท่านั้น ทั้งนี้ จะอนุญาตให้มีการเล่นการพนันชนไก่หรือกัดปลาในแต่ละบ่อนหรือแต่ละสังเวียน ได้ไม่เกินห้าวันต่อเดือน..
..ข้อ 14 การอนุญาตให้จัดให้มีการเล่นการพนันชนไก่หรือกัดปลาเป็นกรณีพิเศษนอกจากข้อ 13 ให้ผู้มีอำนาจสั่งอนุมัติใช้ดุลยพินิจพิจารณาอนุมัติให้เจ้าพนักงาน ผู้ออกใบอนุญาต ออกใบอนุญาตให้จัดให้มรการเล่นได้เมื่อเข้าเงื่อนไขดังต่อไปนี้..
(1) เป็นขออนุญาตให้จัดให้มีการเล่นการพนันชนไก่หรือกัดปลาในงานประจำปีที่จังหวัดเป็นผู้จัดขึ้น
(2) รายได้หลักจากหักค่าใช้จ่ายแล้วมอบให้จังหวัดเพื่อใช้ประโยชน์ในทางราชการหรือสาธารณกุศล
(3) วันที่ขออนุญาตจัดให้มีการเล่นการพนันชนไก่หรือกัดปลาเป็นกรณีพิเศษจะต้องไม่ตรงกับวันเฉลิมพระชนมพรรษาหรือวันสำคัญทางศาสนา
(4) ผู้ที่ขออนุญาตจัดให้มีการเล่นการพนันชนไก่หรือกัดปลาเป็นกรณีพิเศษจะต้องเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตเดิมตาม ข้อ 12

..ข้อ 15 ให้เจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตทำความตกลงกับผู้จัดการเล่นการพนันชนไก่เพื่อกำหนดเวลาการชนไก่ในแต่ละยก (อัน) ให้เป็นมาตรฐาน
 ทั้งนี้ ต้องไม่เกินยี่สิบนาทีต่อหนึ่งยก (อัน) รวมแล้วไม่เกินแปดยก และให้พักระหว่างยกไม่น้อยกว่ายี่สิบนาที
..ข้อ 16 การออกใบอนุญาตให้จัดให้มีการเล่นการพนันชนไก่ให้ออกใบอนุญาตหนึ่งใบ ต่อหนึ่งสังเวียนตามลักษณะข้อจำกัดและเงื่อนไขหลังใบอนุญาต ( พ.น. 4 )
ส่วน บ่อนหนึ่งจะขออนุญาตจัดให้มีการเล่นการพนันชนไก่ได้กี่สังเวียนนั้น ให้ผู้มีอำนาจสั่งอนุมัติใช้ดุลยพินิจพิจารณาด้วยความรอบคอบและเหมาะสม
..ข้อ 17 ในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตกระทำการดังต่อไปนี้ ให้ผู้มีอำนาจสั่งอนุมัติมีอำนาจที่จะไม่อนุมัติให้เจ้าพนักงานออกใบอนุญาต และออกใบอนุญาตในคราวต่อไปเป็นครั้งคราวหรือตลอดไปก็ได้แล้วแต่จะเห็น สมควร..
(1) ฝ่าฝืนหรือไม่ปฎิบัติตามข้อความลักษณะข้อจำกัดและเงื่อนไขที่กำหนดไว้หลังใบอนุญาต
(2) ไม่จัดสถานที่ให้มีความมั่นคงแข็งแรง ปลอดภัย และถูกสุขลักษณะอนามัย
(3) จัดให้มีการเล่นการพนันอย่างอื่นภายในบริเวณสถานที่เล่นการพนันชนไก่หรือกัดปลา
(4) มีการก่อความไม่สงบเรียบร้อย หรือมีเหตุอันควรเชื่อว่าจะมีความไม่สงบเรียบร้อยเกิดขึ้นภายในสถานที่ หรือบริเวณที่เล่น การพนันชนไก่หรือกัดปลา
(5) มีการขายสุรา หรือดื่มสุรา หรือยินยอมให้คนเมาสุราหรือพกพาอาวุธติดตัวเข้าไปในสถานที่ หรือบริเวณที่เล่นการพนันชนไก่หรือกัดปลา
(6) จัดให้มีการเล่นการพนันชนไก่โดยมีการเสริม หรือแต่งเดือย หรือโดยวิธีอื่นใดซึ่งมิได้เป็นไปตามธรรมชาติของไก่ชน
..ข้อ 18 บรรดาหนังสืออนุญาตให้ใช้สถานที่เล่นการพนันชนไก่หรือกัดปลาและใบอนุญาตให้จัดให้มีการเล่นการพนันชนไก่หรือกัดปลา
ซึ่งได้ออกให้แก่ผู้รับอนุญาตก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับให้คงใช้ได้ต่อไปจนกว่าหนังสืออนุญาต หรือใบอนุญาตนั้นสิ้นอายุ..
..คุณสมบัติของผู้ขออนุญาตใช้สถานที่เล่นการพนันชนไก่หรือกัดปลาตาม ข้อ 6 (2) มิให้ใช้บังคับกับผู้ที่ได้รับหนังสืออนุญาตก่อนระเบียบนี้ใช้บังคับ..
..ประกาศ ร วันที่ สิงหาคม พ.ศ.2552..
..(นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล )..
..รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย..

ตำนานไ่ก่ชนพระนเรศวร




            " ไก่ชนนเรศวร "  เป็นไก่ชนตามประวัติศาสตร์ ซึ่งปรากฏอยู่ในพงศาวดารของไทย ดังจะเห็นได้จาก หนังสือพระมหากษัตริย์ไทย ของประกอบ โชประการ ตอนหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า
วันหนึ่ง ได้มีการตีไก่ขึ้น ระหว่างสมเด็จพระนเรศวร ฯ  กับไก่ของมังชัยสิงห์ราชนัดดา (ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระมหาอุปราชา)  ไก่สมเด็จพระนเรศวร ฯ ตีชนะมังชัยสิงห์  มังชัยสิงห์จึงขัดเคือง ตรัสประชดประชันหยามหยันออกมาอย่างผู้ที่ถือดีว่ามีอำนาจเหนือกว่า “ ไก่เชลยตัวนี้ เก่งจริงหนอ”
ถ้า ไม่ใช่คนเหี้ยมหาญแกว่นกล้า ไม่ใช่คนสู้คนทุกสถานการณ์ก็คงจะได้แต่รับฟังหรือเจรจาตอบโต้ไปอย่างเจียม เนื้อเจียมตัว แต่สมเด็จพระนเรศวร ฯ  ไม่ใช่คนเช่นนั้น ทรงเป็นวีรขัติชาติที่ทรงสู้คนทุกสถานการณ์ จึงตรัสโต้ตอบเป็นเชิงท้าอยู่ในทีว่า “ ไก่เชลยตัวนี้ อย่าว่าแต่จะตีกันอย่างกีฬาในวังเหมือนอย่างวันนี้เลย ตีพนันบ้านเมืองกันก็ยังได้”
นับ ว่าเมืองไทยเรามีไก่ชนที่เก่งมาก จึงทำให้สมเด็จพระนเรศวร ฯ  เชื่อพระทัยอย่างแน่นอนว่าเมื่อชน ต้องชนะไก่พม่า จึงกล้าท้าทายเดิมพันบ้านเมืองกัน

            การตีไก่เป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวางในไทย  สมเด็จ พระนเรศวรมหาราช ทรงพระราชสมภพ ณ วังจันทร์ เมืองพิษณุโลก พระองค์ทรงโปรดปรานการตีไก่มาแต่ทรงเยาว์วัย ทรงใฝ่หาความรู้และเสาะหาไก่เก่งมาเลี้ยงไว้ ครั้งเสด็จไปประทับที่พม่าก็ทรงนำไก่ชนไปด้วย ซึ่งเชื่อกันว่าไก่ที่สมเด็จพระนเรศวรฯ ทรงนำไปชนกับพม่านั้น นำไปจาก “บ้านกร่าง”
“บ้านกร่าง”  อำเภอเมืองพิษณุโลก  แดน ไก่ชนนเรศวร เป็นหมู่บ้านเก่าแก่ สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษไทยโบราณ มีการเลี้ยงไก่มาก เมื่อมีงานเทศกาลต่าง ๆ ก็จะนัดชนไก่กัน ณ บ่อนชนไก่ประจำหมู่บ้าน ไก่บ้านกร่าง เป็นไก่เก่งชนชนะชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่ต้องการของคนต่างถิ่น ไก่ที่เลี้ยงเป็น “ไก่อูตัวใหญ่ สีเหลือง หางขาว”  เป็นไก่ชนที่มีความเฉลียวฉลาดในการต่อสู้ จนได้รับสมญานามว่า “เหลืองหางขาว ไก่เจ้าเลี้ยง”
ตาม ตำราได้กล่าวว่า ไก่เหลืองหางขาว เป็นไก่มีสกุล มีประวัติเด่นมาก มีลำหักลำโค่นดี แทงแม่นยำ อาจแทงเข้าตาหรือรูหูพอดี รูปร่างยาว 2 ท่อน สูงระหงดี สีสร้อยเป็นสีเหลือง ปากสีเหลือง เนื้อชมพูอมแดง แข้งเหลืองอมขาว เล็บและเดือยสีเหลืองอมขาว และได้มีผู้รู้ บรรยายลักษณะพิเศษไว้ว่า
“ หน้าหงอนบาง  กลางหงอนสูง
สร้อยระย้า หน้านกยูง ” 
ทางภาคใต้ ได้บรรยายลักษณะของไก่เหลืองหางขาวชั้นเยี่ยม ไว้ว่า
“ อกชัน            หวั้นชิด
หงอนบิด           ปากร่อง
พัดเจ็ด              ปีกสิบเอ็ด
เกล็ดยี่สิบสอง    ถือเป็นไก่ชั้นเยี่ยม ”
            การ ค้นหาไก่เหลืองหางขาว ให้มีลักษณะครบทุกอย่าง และมีลักษณะพิเศษอีกนั้น คงจะมีเพียงตัวเดียว คือ ไก่ชนของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในปัจจุบันการผสมพันธุ์ไก่ชนได้แพร่หลาย และกระจายไปทั่วประเทศ เพราะมีการผสมข้ามเหล่าข้ามพันธุ์ และข้ามสี จนมีไก่ชนหลากสีขึ้น สุดแท้แต่ไก่ตัวไหนจะเก่ง จึงจำเป็นต้องมีการจัดประกวดขึ้น
สำนัก งานปศุสัตว์จังหวัดพิษณุโลก ได้ศึกษาค้นคว้าและทำการส่งเสริมเผยแพร่ โดยได้จัดให้มีการประกวดครั้งแรกขึ้น เมื่อ 29 กรกฏาคม พ.ศ. 2533 และต่อมาได้มีการจัดตั้งชมรมอนุรักษ์และพัฒนาพันธุ์ไก่ชนนเรศวรขึ้นในทั่ว ทุกอำเภอ เพื่ออนุรักษ์และพัฒนาสายพันธุ์ให้คงอยู่เป็นสมบัติคู่ชาติไทยต่อไป

ราคาไก่ชนวันนี้

ราคาไก่ชนวันนี้

อายุ พันธุ์ ราคา(บาท)
พ่อพันธุ์ไก่ ทุกสายพันธุ์    3,000-5,000
แม่พันธุ์ไก่ ทุกสายพันธุ์    500-3,000
ลูกไก่ 1 เดือนครึ่ง ทุกสายพันธุ์    คู่ละ 500
ลูกไก่ 2 เดือนเต็ม ทุกสายพันธุ์    คู่ละ 700
ลูกไก่ 2 เดือนครึ่ง ทุกสายพันธุ์    คู่ละ 900
ไก่หนุ่ม ทุกสายพันธุ์    1,000-5,000
ไก่หนุ่มพร้อมชน ทุกสายพันธุ์    3,000-40,000
ไก่ตีเก่ง บางสายพันธุ์    100,000 ขึ้นไป

สมุดประจำตัวไก่ชน

สมุดประจำตัวไก่ชน

การจัดทำสมุดประจำตัว ไก่ชนของกรมปศุสัตว์นี้ก็เพื่อเป็นการป้องกันโรค และเพื่อให้เกษตรกรได้มีความรู้ความ เข้าใจในการบันทึกประวัติไก่ ของตน เนื่องจากไก่ชนเป็นไก่ที่เลี้ยงไว้เพื่อการกีฬา จะมีการเคลื่อนย้าย หรือนำไปแข่งขันในต่างพื้นที่เป็นประจำ ความจำเป็นในการควบคุมโรคจึงจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะกรณีการเกิดโรคระบาดของสัตว์ปีก อย่างไรก็ตามก็ไม่ได้ทิ้งเรื่องการฝังไมโครชิพ แต่จะต้องพัฒนาการฝังชิพไม่ให้ไก่ชนเกิดความรำคาญ ซึ่งจะทำให้ความสามารถในการชนของไก่เปลี่ยนไปได้
กรมปศุสัตว์ได้กำหนดมาตาการเฝ้าระวังและ ควบคุมเคลื่อนย้าย เพื่อป้องกันการระบาดของโรค ดังนี้
  1. ผู้เลี้ยงไก่ชนทั้งที่เป็นลักษณะฟาร์มและไม่เป็นลักษณะฟาร์มต้องขึ้น ทะเบียน กับกรมปศุสัตว์ ที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดพื้นที่ทุกจังหวัด
  2. สัตวแพทย์สำนักงานปศุสุตว์จังหวัด จะดำเนินการสุ่มเก็บตัวอย่างจากทุกฟาร์มหรือ ทุกบ้านที่มีการเลี้ยงไก่ชนเป็นประจำทุก ๒ เดือน เพื่อตรวจเฝ้าระวังการเกิดโรคระบาดสัตว์ปีก ซึ่งการดำเนินการเฝ้าระวังเช่นนี้จะดำเนินการกับการเลี้ยงสัตว์ปีกทุกประเภท ไม่เฉพาะการเลี้ยงไก่ชน
  3. ไก่ที่มีไว้เพื่อชน ต้องทำสมุดประจำตัวไก่ชน และต้องแสดงสมุดประจำตัวไก่ชน ต่อเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ กรมปศุสัตว์ ในระหว่างทางการเคลื่อนย้าย หรือเมื่อเคลื่อนย้ายถึงปลายทาง เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้ตรวจสอบแหล่งที่มาของไก่ชนว่ามีโรคระบาดหรือไม่ และเป็นการอำนวยความสะดวกต่อผู้เลี้ยงไก่ชนในการลดขั้นตอนการขออนุญาต เคลื่อนย้าย นอกจากนี้การจัดทำสมุดประจำตัวไก่ชน ยังเป็นการเพิ่มมาตรฐานการเลี้ยงไก่ชนในประเทศไทยด้วย ซึ่งจะส่งผลต่อการเพิ่มมูลค่าไก่ชนทั้งภายในประเทศ และส่งออกต่างประเทศได้มาก

สมุดประจำตัวไก่ชน ด้านหน้า
สมุดประจำตัวไก่ชน ด้านหน้า
สมุดประจำตัวไก่ชน ด้านหลัง
สมุดประจำตัวไก่ชน ด้านหลัง

ขั้นตอนการจัดทำสมุดประจำตัวไก่ชน

  1. ปศุสัตว์จังหวัด ประชาสัมพันธ์ให้ผู้เลี้ยงไก่ชนทราบถึงรายละเอียด การจัดทำ สมุดประจำตัวไก่ชน รวมทั้งประโยชน์ที่ได้รับ
  2. ไก่ชนที่จะทำสมุดประจำตัว ต้องมีอายุตั้งแต่ ๘ เดือนขึ้นไป
  3. เจ้าของไก่ชน ยื่นแบบคำขอ ทำสมุดประจำตัวไก่ชน (แบบ กช.๑) ที่สำนักปศุสัตว์จังหวัด หรือ สำนักปศุสัตว์อำเภอ
  4. เจ้าหน้าที่สำนักปศุสัตว์จังหวัด หรือ สำนักปศุสัตว์อำเภอ จะนัดหมายเข้าของไก่ชน เพื่อตรวจสุขภาพไก่ชน เก็บตัวอย่างเพื่อนำไปทดสอบโรค และ ตรวจประวัติการได้รับวัคซีน พร้อมถ่ายรูปไก่ชน จำนวน ๓ รูป คือ
    • รูปทั้งตัว ๑ รูป
    • รูปถ่ายส่วนหัวด้านซ้าย หรือ ด้านขวา ๑ รูป
    • รูปถ่ายแข้ง ๒ ข้าง ๑ รูป โดยถ่ายภาพ ด้านหน้าของแข้งให้เห็นเกร็ดชัดเจน
  5. รูปถ่ายไก่ชน เมื่อติดในสมุดประจำตัวไก่ชน แล้ว ให้ประทับตราสำนักปศุสัตว์จังหวัด ที่ขอบของรูปถ่ายทั้ง ๓ รูป เพื่อป้องกันการเปลี่ยนรูปถ่าย
  6. การกรอกข้อมูลประวัติไก่ชน
    • พันธุ์ หมายถึง พันธุ์ของไก่ชน ได้แก่ ไทย หรือ พม่า หรือ เวียดนาม หรือ ลูกผสมไทย-พม่า เป็นต้น
    • สี หมายถึง สีที่ปรากฏจริง เช่น ขนคอแดง ขนหลังแดง และ หางดำ หรือ ระบุ ตามภาษาไก่ชน เช่น ประดู่หางดำ หรือ เหลืองหางขาว หรือ นกกรด เป็นต้น
    • ตำหนิ หมายถึง ลักษณะที่ไม่สามารถ ลบเลือนได้ เช่น ตาลาย หรือ เดือยดำ หรือ นิ้วก้อยซ้ายหัก เป็นต้น
    • ส่วนสูง หมายถึง วัดจากพื้นที่ไก่ยืนถึงหัวปีก โดยให้ไก่ยืนท่าปรกติ
  7. เจ้าหน้าที่สำนักปศุสัตว์จังหวัด เก็บตัวอย่างโดยวิธี Cloacal Swab เพื่อนำไปตรวจ ทดสอบโรค
  8. เมื่อได้รับผลการทดสอบโรคเป็นลบ จึงมอบสมุดประจำตัวไก่ชน ให้กับเจ้าของ โดยระบุเลขประจำตัวไก่ชน ๘ หลัก (ID Number) ดังนี้
    • หลักที่ ๑ และ ๒ เป็น อักษรย่อของจังหวัด
    • หลักที่ ๓ และ ๔ เป็น ปี พ.ศ.
    • หลักที่ ๕ ถึง ๘ เป็น ลำดับการออก สมุดประจำตัว
    เช่น กท ๔๗ ๐๐๐๑, ปท ๔๗ ๐๐๑๙