วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เชิงของไก่ชน

 

เชิงไก่ชน
  1. เชิงสาด ตีคู่ต่อสู้โดยไม่ต้องจิกหรือที่เรียกว่าสาดแข้งเปล่า
  2. เชิงเท้าบ่า เอาไหล่ชนกันแล้วยืดคอไปจิกบ่าคู่ต่อสู้แล้วตีเข้าท้องหรือหน้าอก
  3. เชิงลง มุดต่ำจิกขาจิกข้าง พอคู่ต่อสู้เผลอโดดขึ้นตี
  4. เชิงมัด มุดเข้าปีก โผล่ไปจิกหัว หู หรือสร้อย แล้วตีเข้าหัว คอ หรือตะโพก
  5. เชิงบน ใช้คอขี่พาด กด ล๊อค ทับ กอด ให้คู่ต่อสู้หลงตีตัวเอง เมื่อได้ทีจะจิกหู ด้านนอก หูใน หรือสร้อยแล้วตีเข้าท้ายทอย
  6. เชิงม้าล่อ หลอกคู่ต่อสู้วิ่งตาม พอได้ทีตีสวนกลับ
  7. เชิงตั้ง ยืนตั้งโด่ จิกสูงแล้วบินตี(เชิงนี้เสียเปรียบเชิงอื่น )
  8. เชิงลายชักลิ่ม เอาหัวหนุนคอหนุนคางคู่ต่อสู้ ลอกให้อีกฝ่ายกดลงแล้วชักหัวออก พอคู่ต้อสู้พลาดก็จิกหัวตี
ไก่เชิงนี้เป็นตัวปราบไก่เชิงบนขี้จุ้ยที่ขี่กอดทับแล้วไม่ตี ในจำนวน 8 เพลงท่านี้ แบ่งแยกได้อีก 15 กระบวนยุทธ คือ
  • เชิงเท้าบ่า แยกเป็น เท้าตีตัว เท้าจิกหลังกระปุกน้ำมัน
  • เชิงหน้าตรง แยกเป็น ตีหน้ากระเพาะ หน้าคอ หน้าหงอน
  • เชิงมัด แยกเป็น มัดโคนปีก มัดปลายปีก
  • เชิงลง แยกเป็น มุดลงจิกขาลงซุกซ่อน ลงลอดทะลุหลัง
  • เชิงบน แยกเป็น ขี่ ทับ กอด ล๊อค มัด
  • เชิงลายชักลิ่ม แยกเป็น ยุบหัว

กติกาในการชนไก่



กติกาการชนไก่
เงินเดิมพัน
ข้อ 1. เมื่อเปรียบไก่ได้กันแล้ว ให้สองฝ่ายตกลงเก็บเงินเดิมพันไปวางไว้กับผู้รักษาเงินบ่อนก่อน
ปล่อยไก่เข้าชนกัน ไก่ที่ยังไม่วางเงินเดิมพันจะนำเช้าไปชนไม่ได้ เมื่อทั้งสองฝ่ายวางเงินเดิมพัน
แล้วยังไม่ถึงลำดับเข้าชน ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะถอนเงินเดิมพันคืนไม่ได้ (เว้นแต่ถึงเวลา 17.00 น.)
เพราะมีเวลาขนกันน้อยอาจจะไม่ได้กินกัน ทางบ่อนยินดีคืนเงินให้ได้
นั้นจมลง ระยะซ้อมกินกัน 2 นาที ระยะชนกัน 10 นาที ภาชนะดังกล่าวตั้งเมื่อเวลาปล่อยไก่หาก
ตัวใดตัวหนึ่งวิ่งหนีก่อนอันซ้อมจม ถือว่าไม่สู้แม้จะมีแผลหรือถูกเดือยก็ต้องยกเลิกกัน ถ้าหากตัว
หนึ่งตัวใดวิ่งหนีพร้อมกับอันซ้อมตก 2 นาที จมหรือเสียงโป๊กดังขึ้นครั้งที่หนึ่ง หรือหลังจากนั้น
ถือว่าเป็นแพ้โดยเด็ดขาด
ซ้อมปากปล่อยหาง
ข้อ 3. ก่อนปล่อยไก่เข้าชนกัน ฝ่ายหนึ่งสงสัยว่าไก่ของตนไม่สู้เต็มตัว เสนอให้ผู้ปล่อยไก่อีก
ฝ่ายหนึ่ง และผู้ควบคุมการชนไก่ ในสังเวียนทราบล่วงหน้าว่า ฝ่ายตนต้องการซ้อมปากเป็น
สัญญากินกัน เมื่อทั้งสองฝ่ายปล่อยไก่เข้าชนกันแล้วฝ่ายหนึ่งเห็นว่าไก่ฝ่ายตนทำท่าจะไม่สู้ จะ
บอกกันอีกฝ่ายหนึ่งว่าซ้อมปากกินกันไม่ได้ ต้องถือเอาอันซ้อม 2 นาที เป็นเกณฑ์ ถ้าหากผู้
ปล่อยมีความประสงค์จะปล่อยหางกินกันก็ได้ แต่ทั้งสองฝ่ายจะต้องเสนอให้ผู้คุมบ่อนการชนไก่
ก่อนปล่อยหางเข้าชนกัน เพื่อตกลงกันเป็นที่แน่นอนแล้ว มิฉะนั้นจะถือว่าเอาอันซ้อม 2 นาที
เป็นเกณฑ์
ถูกหักวิ่งหนี
ข้อ 4. ในระหว่างชนไก่กัน ตัวหนึ่งตัวใดถูกหักวิ่งหนีและออกปากร้องยังไม่ถือว่าแพ้ ต้องปล่อย
จนหมดยกนั้นก่อนให้ทั้ง2ฝ่ายรับไปให้น้ำ 10 นาที เมื่อเสียงโป๊กดังขึ้นให้ทั้งสองฝ่ายนำไก่ไป
ปล่อยชนในสังเวียน หากตัวหนึ่งวิ่งหนีไม่สู้จึงถือว่าเป็นแพ้ถ้าหากตัวที่วิ่งหนีออกปากร้องในยก
ก่อนยังสู้อยู่ต้องชนกันไปจนกว่าจะแพ้หรือชนะ
จับเ้ข้าหากัน
ข้อ 5. ไก่ทั้งคู่อยู่ห่างกันไม่พองสร้อยต่างยืนเฉยอยู่ และตัวหนึ่งวิ่งหนีและอีกตัวหนึ่งไม่ไล่ตาม
ผู้ควบคุมการชนไก่มีสิทธิ์จับตัวต่อเข้าหาตัวรองทุกครั้ง ถ้าหากตัวหนึ่งหรือทั้งสองตาบอดผู้คุม
การชนไก่มีสิทธิ์จับข้างตาดีเข้าหากัน หากตัวหนึ่งก้มหัวลงอยู่ใต้อกอีกตัวหนึ่งยืนเฉยต้องปล่อย
ไปจนหมดยกนั้น เพราะถือว่าไก่ทั้งสองอยู่ใกล้ชิดกัน
จับไก่ก่อน
ข้อ 6. เมื่อไก่ทั้งคู่ชนกันในสังเวียนก่อนถึงยกให้น้ำ ถ้าหากผู้ปล่อยไก่จับฝ่ายตนก่อนถือว่าเป็น
แพ้ ไม่ว่าจะเป็นต่อหรือเป็นรอง ถ้าหากไก่ตัวหนึ่งกำลังวิ่งหนีอยู่ในสังเวียน ผู้ปล่อยไก่ตัวนั้นยัง
ไม่ทันจับออก ผู้ปล่อยไก่ที่กำลังติดตามจับไก่ของตนก่อน ผู้ควบคุมการชนไก่จะตัดสินแพ้ทั้งคู่
(เว้นแต่ทั้งคู่ไล่ติดตามออกนอกสังเวียน ผู้ปล่อยไก่ทั้งสองฝ่ายจับไก่เข้าในสังเวียนได้) ถ้าหากผู้
หนึ่งผู้ใดจับไก่ที่กำลังชนกันในสังเวียนไม่ว่าตัวใดผู้นั้นจะต้องรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
แก่ไก่คู่นั้นจะต้องชนกันไปจนแพ้-ชนะ ถ้าหากฝ่ายใดไม่ยอมชนต่อเมื่อยกนั้น ผู้คุมการชนไก่จะ
ตัดสินเป็นแพ้
ไก่ตาบอด
ข้อ 7. ไก่ตัวหนึ่งตัวใดตาบอดข้างหนึ่ง และอีกข้างหนึ่งถูกตีแหลกหรือเลือดปกคลุมแก้วตาดำไม่
เห็นคู่ต่อสู้ ยังไม่ถือว่าแพ้ เพราะไก่ตัวนั้นยังสู้อยู่ต้องปล่อยไปจนหมดยก เมื่อเสียงโป๊กดังขึ้น ผู้
ควบคุมการชนไก่จะได้พิสูจน์ทันที ถ้าปรากฏว่าตาบอดทั้งสองข้างจริงถือว่าแพ้ ไก่ตัวใดถูกตีตา
บอดทั้งสองข้างในยกนั้น ยังไม่ถึงเวลาพิสูจน์ บังเอิญตัวตาบอดทั้งสองข้างตีตัวตาดีวิ่งหนีหรือ
ออกปากร้อง เป็นแพ้ ต้องปล่อยไปจนหมดยกนั้น เมื่อเสียงโป๊กดังขึ้นผู้ควบคุมการชนไก่จะได้
พิสูจน์ตัวตาบอดก่อนทันที ถ้าเข้าลักษณะตาบอดทั้งสองข้าง ถือว่าแพ้ และตัวตาดีที่วิ่งหนีล่อ
หน้าไม่สู้ถือว่าแพ้ ทั้งคู่ยกเลิกกัน
หนียกสุดท้าย
ข้อ 8. ไก่คู่หนึ่งคู่ใดชนกันระหว่าง 12 อันยกสุดท้ายหรือจะถึงเวลา 19.00 น. ตามนาฬิกาของ
บ่อนที่จัดไว้ปรากฏว่าตัวใดตัวหนึ่งหนีหน้าอีกฝ่ายหนึ่ง นักพนันทั้งหลายจะถือว่าเป็นแพ้ไม่ได้
ต้องปล่อยไปจนหมดยกนั้น หรือหมดเวลา 19.00 น. เสียงโป๊กดังขึ้น ผู้ควบคุมการชนไก่ จะให้ผู้
ปล่อยจับเช็ดหน้าทันทีขณะที่อยู่ในสังเวียน เมื่อเช็ดหน้าเสร็จแล้วให้ปล่อยไก่ทั้งสองตัวเข้าหา
กัน ถ้าตัวหนึ่งไล่จิกหัวหรือจิกอีกตัวหนึ่งไม่จิกตอบหรือจิกแล้วบิดหน้าหนีเพียงครั้งเดียวถือว่าแพ้
ถ้าหากตัวที่เคยวิ่งหนีจิกตอบแล้วไม่บิดหน้าหนีถือว่าเสมอกัน ต้องยกเลิกกัน และเมื่อทั้งสอง
ฝ่ายปล่อยไก่เข้าหากันตัวต่อยืนเฉยอยู่ไม่ไล่จิกและ ตัวรองก้มหัวไม่บิดหน้าหนี ถือว่าเสมอ
ยกเลิกเช่นกัน ถ้าหากฝ่ายหนีหน้ายกสุดท้ายหรือหมดเวลาดังกล่าว จับไก่ออกสังเวียนไป โดย
ไม่ทำตามคำสั่งผู้คุมการชนไก่ ถือว่าแพ้ตัวหนึ่งตัวใดเข้าปล่อยชนกันยกสุดท้าย ไม่ยอมสู้กับคู่
ต่อสู้ ถือว่าแพ้เด็ดขาด
ปากเดือยหลุด
ข้อ 9. ถ้าหากปากไก่ตัวใดตัวหนึ่งหลุดออก จะใช้ปากไก่ใหม่สวมแทนได้ และไก่ตัวใดตีจนหลุด
จะใช้เดือยที่หลุดผูกติดได้ เมื่อหมดยกพักให้น้ำ ถ้าหากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดใช้เดือยไก่ตัวอื่นผูกแทน
หรือโลหะสวมหรือผูกแทนถือว่าเป็นแพ้
ไก่ถูกยาพิษ
ข้อ 10. เมื่อเจ้าของไก่ทั้งสองฝ่าย ได้วางเงินเดิมพันกับผู้รักษาเงินบ่อนแล้วยังไม่ถึงลำดับเข้า
ชนกัน ฝ่ายหนึ่งเห็นว่าไก่ของตนถูกวางยาพิษ ต้องแจ้งให้เจ้าของบ่อนหรือผู้คุมการชนไก่ จะสั่ง
ยกเลิกและคืนเงินเดิมพันที่วางไว้ ถ้าหากพิสูจน์แล้วไม่เป็นความจริง เจ้าของไก่จะต้องนำไก่ตัว
นั้นเข้าชนตามลำดับที่จัดไว้ ถ้าไม่นำไปชนตามลำดับ ผู้คุมการชนไก่จะตัดสินไก่ตัวนั้นว่าแพ้ เมื่อ
ทั้งสองฝ่ายปล่อยไก่เข้าชนกันแล้ว ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะมากล่าวหาว่าไก่ของตนถูกวางพิษต้อง
ปล่อยชนกันแพ้หรือชนะ
ไม่ให้บิดพลิ้ว
ข้อ 11. ไก่ทุกคู่เมื่อชนกันถึงอันยกพักให้น้ำ 10 นาที เสียงโป๊กดังขึ้นทั้งสองฝ่ายนำไก่เข้าชน
ต่อไป หากฝ่ายหนึ่งนำไก่เข้าไปคอยอยู่ในสังเวียนอีกฝ่ายหนึ่งทำท่าบิดพลิ้วไม่รีบนำไก่เข้าชน
ตามกำหนด ผู้คุมการชนมีสิทธิ์สั่งตั้งอันซ้อม 2 นาที ถ้าหากอันซ้อมจมลง เสียงโป๊กดังขึ้นก่อน
นำไก่เข้าในสังเวียน ผู้คุมการชนไก่จะตัดสินใจให้ไก่ตัวนั้นแพ้
ยกโดยลำพัง
ข้อ 12. ไก่คู่หนึ่งคู่ใดชนกันไม่ถึง 12 อัน หรือหมดเวลา 19.00 น. ถ้าหากเจ้าของหรือผู้ปล่อยไก่
ทั้งสองฝ่ายตกลงยกเลิกกันเอง โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ควบคุมบ่อนไก่ 19.00 น. เสียง
โป๊กดังขึ้น ผู้ควบคุมการชนไก่ จะให้ผู้ปล่อยจับเช็ดหน้าทันทีขณะอยู่ในสังเวียน เมื่อเช็ดหน้า
เสร็จแล้วให้ปล่อยไก่ทั้งสองตัวเข้าหากัน ถ้าตัวหนึ่งไล่จิกหัวหรือจิกอีกตัวหนึ่งไม่จิกตอบหรือจิก
แล้วบิดหน้าหนีเพียงครั้งเดียวถือว่าแพ้ ถ้าหากตัวที่เคยวิ่งหนีจิกตอบแล้วไม่บิดหน้าหนีถือว่า
เสมอกัน ต้องยกเลิกกัน และเมื่อทั้งสองฝ่ายปล่อยไก่เข้าหากันตัวต่อยืนเฉยไม่ไล่จิกและ ตัวรอง
ก้มหัวไม่บิดหน้าหนีถือว่าเสมอยกเลิกเช่นกัน ถ้าหากหนีหน้ายกสุดท้าย หรือ หมดเวลาดังกล่าว
จับไก่ออกสังเวียนไปโดย
ไม่ทำตามคำสั่งผู้คุมการชนไก่ถือว่าแพ้ตัวที่ปล่อยชนกันยกสุดท้าย ไม่ยอมสู้กับคู่ต่อสู้ ถือว่าแพ้
เด็ดขาดจะต้องเสียค่าน้ำทั้งสองฝ่าย คือร้อยละ 5 บาท ตามจำนวนเงินเดิมพันที่วางไว้
ห้ามของมึนเมา
ข้อ 13. เมื่อปล่อยไก่เข้าชนกันแล้ว เจ้าของหรือผู้ปล่อยไก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเห็นว่าไก่ตนสู้ฝ่าย
ตรงข้ามไม่ได้ จะนำเอาของมึนเมา หรือสิ่งอื่นใดให้ไก่กินไม่ได้ ถ้าหากไก่ตัวใดเข้าไปในสังเวียน
ไม่ยอมสู้กับคู่ต่อชนคือไม่จิกตอบ ไม่ยืนเตะ นอนอยู่กับพื้นตลอดยกนั้น เมื่อเสียงโป๊กดังขึ้นผู้คุม
การชนไก่จะตัดสินไก่ตัวนั้นแพ้


                                        

การเลี้ยงไก่ชน

การที่เราจะเลี้ยงไก่ออกชนนั้นก่อนอื่นเราต้องรู้ก่อนว่าไก่ตัวไหนที่มีความฉลาดมีความสามารถในเชิงชนมาก น้อยแค่ไหนชั้นเชิงดีไหม ตีเจ็บไหมตีถูกไก่ดีไหม จิตใจดีไหม ส่วนประกอบต่างๆเหล่านี้ต้องพิจารณาให้ดี การที่จะคัดไก่เพื่อเอาไว้เลี้ยงชน เราต้องเลือกไก่ที่มีอายุหน่อย และต้องรู้ฤดูนั้นเป็นฤดูไก่หนุ่มหรือไก่แซม ไก่ถ่าย ถ้ารู้ก็จะได้เตรียมไก่ไว้ให้ถูกต้องตามฤดูกาล การที่เราจะเล่นไก่หนุ่มเราควรจะหาไก่ที่มีอายุสักหน่อยคือ ให้มีอายุชน 12 เดือน เสียก่อนค่อยนำมาเลี้ยงออกชน การที่เราต้องรอให้ครบ 1 ปีนั้น เพื่อต้องการให้ไก่มีความแข็งแกร่งในด้านกระดูก ในด้านกล้ามเนื้อ และด้านจิตใจ ถ้าเรานำไก่อายุน้อยเกินไป เช่นอายุ 10-11 เดือนนำมาซ้อมหรือฝึกบ่อยๆเกินไป ส่วนมากจะชนได้ไม่นาน เพราะบางทีหรือบางตัวพอวางมากๆเข้าจะทำให้ไก่เกิดการท้อใจได้พาลไม่สู้ไก่เอาเฉยๆเลยก็มี แต่ถ้าเราเอาไก่ที่มีอายุมากหน่อย ตั้งแต่ 12 เดือนไปแล้วนำไปวางฝึกซ้อมส่วนมากจะดีกว่าไก่ที่มีอายุน้อยๆ เพราะไก่ที่เป็นหนุ่มเต็มตัวแล้วจะมีอาการหึงหวงตัวเมียเป็นธรรมชาติของสัตว์ และก็เกิดการแย่งชิงความเป็นใหญ่ในฝูง หรือในบ้านนั้นๆ เพราะฉะนั้นไก่หนุ่มที่มีอายุมากๆจึงไม่ค่อยท้อใจในเวลาซ้อมการซ้อมก็ควรหาคู่ซ้อมที่อายุรุ่นราวคราวเดียวกัน เลี้ยงไก่เราต้องใจเย็นๆอย่าใจร้อนต้องพิจารณาให้ดี การเลี้ยงไก่ออกชนนั้นไก่หนุ่มจะไม่ค่อยยากเหมือนไก่แซม ไก่ถ่าย เพราะไก่หนุ่มถ้าเลี้ยงมากเกินไปจะทำให้ไก่ไม่ค่อยตีไก่ ถ้าเลี้ยงน้อยเกินไปก็จะทำให้ไก่ไม่ค่อยมีกำลัง เราต้อง เลี้ยงให้พอดีๆการเลี้ยงไก่ออกชนนั้นเราต้องซ้อมให้ได้หน้าคือเราต้องซ้อมจนกว่าหน้าของไก่จะไม่ฟูบวมพอแผลที่หน้าหายดี แล้วก็ถ่ายยาลุ ถ่ายลุภายในที่ถูกตีเมื่อเวลาซ้อม หลังจากถ่ายยาสัก 3 วันก็เริ่มลงมือเลี้ยงได้เต็มที่ การเลี้ยงไก่แซมไก่ถ่ายต่างกับไก่หนุ่มมาก คือ เราต้องวางให้มากเข้าไว้อย่างน้อยต้อง 10-12 ยกขึ้นไป วางให้จนเข้าที่เหมือนเดิมให้ได้อย่าไปสงสารเพราะไก่แซมไก่ถ่ายนั้นหนังจะหนากระดูกก็จะแข็งมากไม่ต้องกลัวจะออกไก่ แต่ถ้าวางออกไก่แสดงว่าใจไม่สู้หรือใจไม่ดี ไม่พร้อมที่จะชน บางตัวตอนอายุหนุ่มๆ ชนดี ชนชนะหลายเที่ยว ชนจนขนเริ่มหลุด เริ่มแซม พอหลังจากแซมสุดหมดแล้ว ไม่สู้ไก่ก็มี บางตัวตอนหนุ่มๆไม่สู้ไก่ แต่พอแซมสุดหมดแล้วสู้ไม่เลือกหน้าก็มี
ยาบำรุง
การเลี้ยงไก่ออกชนนั้น จำเป็นต้องให้กินยาบำรุงกำลังตลอดระยะเวลาการเลี้ยงพร้อมจะออกชนในสนาม
ยาบำรุงของไก่ที่ขาดไม่ได้เลยนั้น ควรเน้นยาสมุนไพรโบราณให้มากที่สุดตัวยามีดังนี้
บอระเพ็ดผง
หัวแห้วหมูผง
กระเทียมครึ่งกิโล บดให้ละเอียดตากแห้งแล้วบดให้เป็นผง
กระชาย 2 กำ ตากแดดให้แห้งบดให้เป็นผง
พริกไทยเม็ด บดให้เป็นผง
ยาดำ บดให้เป็นผง
นกกระจอก 7 ตัว ย่างไฟให้สุกตากแดดให้แห้ง แล้วบดให้เป็นผง
ปลาช่อนครึ่งกิโล ย่างไฟให้สุกตากแดดให้แห้ง แล้วบดให้เป็นผง
ดีปรี 3 เม็ด บดให้เป็นผง
เอาทั้ง 9 อย่างนี้มาผสมกันกับน้ำผึ้ง ปั้นเป็นลูกกลอนให้กิน กินวันละ 1 เม็ดก่อนนอนทุกวันในระหว่างเลี้ยงอยู่นั้น ยังมียาอีกหลายอย่าง เช่น หญ้าแพรกบดให้ป่น ตากลมพอหมาดๆนำไปผสมนมข้นหวานใส่ตู้เย็นไว้ให้กินทุกวัน ก่อนนอนจะทำให้ไก่มีกำลังบินที่ดีมากและก็ในคราวเดียวกันในระหว่างกำลังเลี้ยงอยู่ควรให้กินยาวิตามินไปด้วย คือ แบรน เนอร์โปรตีน เพราะยาตัวนี้จะมีวิตามินที่ร่างกายต้องการไม่ว่าคนหรือสัตว์จะขาดเสียไม่ได้เลย คือ วิตามินเอ วิตามินอี วิตามินซี วิตามินดี วิตามินทั้ง 4 ตัวนี้ถ้าขาดตัวใดตัวหนึ่งจะทำให้ร่างกายไม่สมบูรณ์ แข็งแรง เหมือนธรรมชาติ ระหว่างกำลังเลี้ยงอยู่ควรให้กินประมาณ 5 เม็ด ให้กินวันเว้นวัน หรือให้กินวันเว้นสองวัน และวันออกให้กินอีก 1 เม็ด ข้อ สำคัญอย่าให้กินมากเกินไป เพราะจะทำให้ไก่บินมากจนตีไม่ถูก เพราะไก่คึกเกินไปนั้นเอง เพราะฉะนั้นการเลี้ยงไก่
ออกชนทุกครั้ง จึงจำเป็นต้องให้กินทุกครั้งเพื่อไม่ให้ไก่ขาดวิตามินตัวใดตัวหนึ่งและก็จะทำให้ไก่ได้มีกำลังเพิ่มขึ้นกว่าปกติ ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงดี ก่อนกินยาบำรุงทุกขนาดควรให้กินข้าวก่อน แล้วค่อยให้กินยาตอนเย็นก่อนนอน
การลงกระเบื้อง
กระเบื้องประคบไก่ ประคบเพื่อเสริมธาตุในการรักษาอาการบาดเจ็บของไก่ชน สมัยโบราณคนโบราณไม่ว่า จะทำกิจกรรม หรือวิธีกรรมใดๆ จะขาดธาตุหลักทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟไม่ได้ ดูจากคาถาโบราณ ยังมีคาถาปลุกธาตุ 4 คือ นะ มะ พะ ทะ การเลี้ยงไก่ชนซึ่งมีควบคู่กับคนไทยโบราณมานาน ก็ย่อมต้องอิงธาตุ 4 ด้วยเช่นกัน สิ่งมีชีวิตทุกชนิด ประกอบด้วยดินน้ำลมไฟ เมื่อขาดธาตุใดธาตุหนึ่ง หรือเกิดความไม่สมดุลย์ของธาตุใดธาตุหนึ่ง ร่างกายของสิ่งมีชีวิตนั้นก็จะเกิดเจ็บป่วยขึ้นดังนั้นจึงต้องมีการเสริมธาตุที่ขาดไปให้สมบูรณ์ดัง เดิม ก็จะหายจากการเจ็บป่วยไดการกราดน้ำไก่ชน คือการเสริมธาตุน้ำ ธาตุลมมาจากอากาศรอบๆตัว ธาตุไฟที่ติดไวและมารวมเป็นความร้อนอยู่บนกระเบื้องซึ่งเป็นธาตุดิน เมื่อพูดว่าเลี้ยงทำตัวกราดน้ำ ติดกระเบื้องก็จะ้ มองเห็นภาพการรวมธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ มาสู่ตัวไก่โดยใช้ผ้าชุบน้ำมาเช็ดบนแผ่นกระเบื้องที่มีความร้อนแล้วนำมาประคบตัวไก่ ในปัจจุบันนี้มีการเปลี่ยนแปลงจาก เตาถ่านและกระเบื้องดินเผาที่ต้องรอกว่าจะร้อนมาเป็นเตารีดที่เพียงเสียบปลั๊กปุ๊บก็ร้อนปั๊บ ใช้งานได้ทันที เหมาะแก่การเลี้ยงไก่ชนในสมัยนี้ ซึ่งดัดแปลงจากเตารีดธรรมดาที่ใช้ตามบ้าน โดยแกะด้านที่จับออก หงายเตารีดและขัน น๊อตยึดกับแผ่นไม้ เพื่อความมั่นคงและสะดวกในการใช้งาน
การลงขมิ้น
ในการเลี้ยงไก่ชนขมิ้นถือว่ามีคุณค่าและจำเป็นอย่างยิ่งมือน้ำจะใช้ขมิ้นผสมกับปูนกินหมากให้ข้น
แล้วนำมาทาตามเนื้อตัวไก่เพื่อรักษาบาดแผลในการต่อสู้ และเพื่อทำให้ผิวพรรณของไก่ดีและยังช่วยไล่
ไรและแมลงต่างๆที่จะมาสร้างความลำคาญให้แก่ไก่ การลงขมิ้นที่ถูกต้องก็มีเทคนิคและวิธีการที่ค่อน
ข้างจะซับซ้อนอยู่ไม่น้อยหากผู้เลี้ยงทำไม่ถูกต้อง แทนที่การลงขมิ้นจะได้ประโยชน์
อาจกลับกลายเป็นโทษต่อไก่ไปโดยไม่รู้ตัว


สายพันธุ์ไก่ชน

ไก่เหลืองหางขาว
มีถิ่นกำหนดเดิมอยู่ที่บ้านหัวเท ตำบลบ้านกร่าง จังหวัดพิษณุโลก ไก่เหลืองหางขาวเป็นไก่ที่ฉลาดปราดเปรียว อดทน ลักษณะเด่นคือ ตัวผู้จะมีสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง ขนปิดหูเหมือนกันตลอด มีจุดขาว 5 แห่ง คือ ที่ท้ายทอย หัวปีกทั้งสองข้าง ที่ข้อขาทั้งสองข้าง บางตำราเรียกว่า ”พระเจ้า 5 พระองค์” เพศผู้มีสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง เป็นสีเหลืองเหมือนกันตลอด ขนสีตัวเป็นสีดำ ส่วนปาก แข้ง เล็บ เดือย มีสีขาวอมเหลืองคล้ายสีงาช้าง ลูกตาสีเหลืองอ่อน ”เรียกว่าตาปลาหมอตาย” ส่วนเพศเมียมีขนพื้นตัวเป็นสีดำตลอดมีกระขาว 2 หย่อมเหมือนกัน
ไก่เหลืองหางขาว
ไก่ประดู่หางดำ
มีถิ่นกำหนดแถวภาคกลาง เพศผู้มีสร้อยคอ สร้อยปี สร้อยหลังและขนปิดหูเป็นสีประดู่ ถ้าสีแก่จะเรียกว่า ”ประดู่เมล็ดมะขามคั่ว” ถ้าสีอ่อนจะเรียกว่า ”ประดู่แดง” หางพัด และกะลวยสีดำปลอด ไม่มีขาวแซม พื้นสีลำตัวไม่มีสีอื่นแซม ตาสีไพร ส่วนปาก แข้ง เดือย เป็นสีเขียวอมดำ หรือดำสนิท เพศเมีย มีขนสีดำสนิทรับกันทั้งตัว ไม่มีสีขาวแซม บางตัวมีขลิบสร้อยคอสีประดู่ ถือว่าเป็นไก่พันธ์แท้ ส่วนปาก แข้ง เดือย ลักษณะเหมือนเพศผู้
ไก่ประดู่หางดำ
ไก่ประดู่แสมดำ
มีถิ่นกำเนิดอยู่แถบพื้นที่ภาคกลางเป็นหลัก อาจมีพบในภูมิภาคอื่นบ้างปะปราย ซึ่งในปัจจุบันพบเห็นได้น้อยมาก ลักษณะ เพศผู้จะมีสีสร้อยคอ สนับปีก สร้อยหลังรวมถึงขนปิดหู เป็นสีประดู่ ซึ่งมีทั้งสีประดู่แดงและประดู่เม็ดมะขาม ขนพื้น ตัวเป็นสีดำ ปีกและหางพัดรวมถึงหางกะลวยเป็นสีดำปราศจากสีขาวแซม ปาก และสีตาดำสนิท แข้ง เล็บ เดือย เป็น สีดำ ใบ หน้าจะมีสีแดงคล้ำ(แดงอมดำ) ขอบตาดำ ผิวหนังบริเวณลำตัวจะเป็นสีคล้ำ(แดงอมดำ) ในช่วงที่ยังเล็กอยู่มักจะมีสีผิวดำ ทั้งใบหน้า และบริเวณลำตัวไก่ประดู่แสมดำเพศเมียจะมีขนพื้นตัวเป็นสีดำตลอดตัว ใบหน้าจะมีสีดำชัดเจนมากกว่าตัวผู้มาก ปาก แข้ง เล็บ มีสีดำสนิท
ไก่ประดู่แสมดำ
ไก่เขียวหรือเขียวแมลงภู่
เพศผู้มีสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลังและขนปิดหู สีเขียวอมดำคล้ายสีแมลงภู่ สีขนพื้นตัวเป็นสีมันดำ หางพัด และหางกะลวยสี ดำตลอด ส่วนปาก แข้ง เล็บ ตา มีสีเขียวอมดำ ส่วนเพศเมียมีพื้นสีตัวเป็นสีดำ ปลายขนเป็นเงาออกเขียวส่วนอื่นๆ เหมือนเพศผู้
ไก่เขียวหรือเขียวแมลงภู่
ไก่ประดู่เลาหางขาว
เพศผู้ ขนพื้นตัวสีดำ ขนปี หางพัดสีขาวปนดำ หางกะลวยกลางสีขาว ส่วนคู่อื่นๆ มีสีขาวปลายดำ ขนสร้อยคอ สร้อยปี สร้อย หลัง มีสีประดู่เลา คือโคนสร้อยสีขาวปลายสร้อยสีประดู่ ปาก แข้ง เดือย มีสีขาวอมเหลือง ไก่ประดู่เลาหางขาว มี 4 เฉดสี คือ ประดู่เลาใหญ่ ประดู่เลาเล็ก ประดู่เลาแดง และประดู่เลาดำ
ไก่ประดู่เลาหางขาว
ไก่เขียวเลาหางขาว
เพศผู้ขนพื้นตัวสีดำ และขนปีกหางสีดำ หางกะลวยคู่สีขาว ส่วนคู่อื่นๆ มีสีขาวปลายดำ สร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลังสีเขียวเลา คือ ขนสร้อยท่อนล่างสีขาว องปลายสีเขียว ส่วนปาก แข้ง เล็บ สีขาวอมเหลืองหรือขาวงาช้าง มี 3 สายพันธุ์ คือ 1.เขียวเลา ใหญ่พระเจ้า 5 พระองค์ 2.เขียวเลาเล็กหางขาว 3.เขียวเลาดอกหางขาว
ไก่เขียวเลาหางขาว
ไก่ลายหางขาว
เพศผู้ขนพื้นตัวลาย ขนปีก ขนหางพัดลาย หางกะลวยคู่กลางสีขาวปลอด คู่อื่นๆ สีขาวปลายลาย ส่วนปาก แข้ง เล็บ เป็นสีขาว อมเหลือง
ไก่ลายหางขาว
ไก่ขาวหรือไก่ชี
ชีเพศผู้ขนพื้นตัวสีขาว ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง เป็นระย้าสีขาวรับกันกับปาก แข้ง เล็บ และมีเดือย สีขาวอมเหลือง หางดัด กางกะลวยเป็นสีขาว ส่วนลักษณะเพศเมียเหมือนเพศผู้ ไก่ขาวแบ่งตามเฉดสีได้ 4 ชนิด คือ ไก่ชีขาว แพรขาว ขาวกระดำ และขาวกระแดง
ไก่ขาวหรือไก่ชี
ไก่นกแดง
เพศผู้ขนพื้นลำตัว หน้าคอ หน้าท้อง ใต้ปีกสีแดงเพลิงตลอด ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง ด้านขนสีแดง หางพัด หาง กะลวย ก้านหางสีแดง และเป็นรู้หางม้า ปากสีเหลืองอมแดง รับกับสีแข้ง เล็บ และเดือย ไก่นกแดงมี 4 เฉดสี คือ แดงชาด แดงทับทิม แดงเพลิง และแดงนาก ส่วนเพศเมีย ขนพื้นตัว ขนหลัง ขนหาง และขนสร้อยคอ มีสีแดงรับกันตลอดทั้งตัว ปาก แข้ง เดือย เหมือนเพศผู้
ไก่นกแดง
ไก่เทา
เพศผู้มีขนสร้อยคอ สร้อยหลังสีเหลือง หางพัด และหางกะลวยสีเทาปนขาวสลับดำ ขนพื้นตัวสีเทาตลอดส่วนปาก แข้ง เดือยสี ขาวอมเหลือง สีเทาอมดำ เรียกว่า ”เท่าขี้ควาย” สีเทาอมขาวเรียกว่า ”เทาขี้เถ้า” และสีเทาสร้อยเหลือง เป็นไก่เทายอดนิยมเรียก ว่า ”เทาฤๅษี” หรือ ”เทาทอง” เพศเมียขนพื้นตัว ขนหลัง ขนปีก ขนหาง และขนสร้อยคอเป็นสีเทากันตลอดทั้งตัว ส่วนปาก แข้ง เดือย เหมือนเพศผู้
ไก่เทา
ไก่นกกรด
เพศผู้ ขนพื้นลำตัวสีดำสนิท ขนสร้อยคอ สร้อยปี สร้อยหลังระย้าเป็นสีแดงอมน้ำตาลอ่อนๆ ขนหางพัด หางกะลวยสีดำปลอด ไม่มีสีอื่นแซม แต่ก้านขนจะมีสีแดงเข้ม ส่วนปาก แข้ง เล็บ เดือย สีเหลืองแกมแดง ไก่นกกรดแบ่งได้ 4 สี ได้แก่ นกกรดแดง นกกรดดำ นกกรดเหลือง และนกกรดกะปูด ส่วนเพศเมียขนพื้นลำตัวสีน้ำตาลแบบสีกาบอ้อย ขนสร้อยคอ ขนหลัง ขนปีก มีสีน้ำตาล ปลายปีกสีน้ำตาลเข้ม ส่วนอื่นๆ เหมือนเพสผู้
ไก่นกกรด
ไก่ทองแดง
เพศผู้ ขนพื้นตัวตั้งแต่บริเวณหน้าคอ หน้าอก ใต้ปีก ใต้องเป็นสีแดง หางพัด กะลวยสีดำสนิทไม่มีสีอื่นแซม หางยาวพุ่งตรง สวยงาม ส่วนปาก แข้ง เล็ด มีสีเหลืองอมแดง ดวงตาสีแดง ไก่ทองแดงหางดำ แบ่งได้ 4 สี ได้แก่ ทองแดงใหญ่ ทองแดง ตะเภาทอง ทองแดงแข้งเขียวตาลาย ทองแดงอ่อนหรือสีปูนแห้ง ส่วนเพศเมียขนสีพื้นตัวด้านล่าง หน้าคอ หน้าอก ในปีก ใ ต้ท้อง ก้นมีสีแดง และส่วนอื่นๆ เหมือนเพศผู้
ไก่ทองแดง
ไก่สีดอกหมากหางขาวหรือลีโย
ไก่พันธุ์นี้มีถิ่นกำเนิดทางภาคกลาง คล้ายไก่เหลืองหางขาวผสม ลักษณะสร้อยคอปลายขนจะออกขาวอมเหลือง คล้ายสีดอก หมาก กะลวยหางสีขาวปลอดสีดำที่ปลายหาง พื้นตัวสีดำ เดือยและก้านปีกสีขาวอมเหลือง
ไก่สีดอกหมากหางขาวหรือลีโย
ไก่พม่า
เป็นไก่ที่นำเข้าจากพม่า ตัวเล็กน้ำหนักประมาณ 2 กิโลกรัม ปากแหลมสีดำ ขนสีดอกหมาก สร้อยคอสร้อยสร้อยปีกเป็นสีดอก หมาก หางสีดำ แข้งเล็กสีดำ หรือบางตัวจะเป็นไก่สีกรดมีความว่องไวมาก กระโดดสูง นิยมเลี้ยงกันทางภาคเหนือ ส่วนภาค อื่นๆ นิยมนำมาเป็นพ่อพันธุ์เพื่อผสมสายพันธ์ตามชั้นเชิงที่ต้องการ
ไก่พม่า
ไก่ด่างเบญจรงค์
ไก่ด่างเบญจรงค์
ไก่เหล่าป่าก๋อย
ไก่เหล่าป่าก๋อย